เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
คณะวิทยาการจัดการ สาขา(บริหารธุรกิจ)ธุรกิจระหว่างประเทศ

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความเสี่ยงและความน่าดึงดูดใจประเทศญี่ปุ่น

ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ
               ปัจจัยเสี่ยงในอนาคตของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ได้แก่ ปัญหาการว่างงานในระดับสูง และภาวะเงินฝืดเนื่องจากการบริโภคลดลง ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นทำให้สินค้าญี่ปุ่นสูญเสียขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก
ความน่าดึงดูดใจด้านเศรษฐกิจ
               ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี
 
ความเสี่ยงด้านการเมือง
               1. รัฐบาลต่างๆ ขาดการประสานความร่วมมือกันในการกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะละเลิกมาตรการกระตุ้น มัวแต่คำนึงถึงผลได้-ผลเสีย หรือผลประโยชน์แห่งชาติของตัวเองเป็นอันดับแรก 
              2. รัฐบาลญี่ปุ่นกับธนาคารกลางงัดข้อกันในเรื่องนโยบาย ทำให้มีปัญหากัน
ความน่าดึงดูดใจด้านการเมือง
1.             ไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและราบรื่นตลอดมา ความร่วมมือระหว่างกันครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม
2.             ญี่ปุ่นมีการกำหนดกฎหมายที่เด็ดขาด  เช่น  ถ้าเมาแล้วขับก็จะโดนไล่ออกจากการทำงานและต้องเสียค่าปรับที่มีราคาแพง
                                                         

ความเสี่ยงด้านวัฒนธรรม
พฤติกรรมการลอกเลียบแบบวัฒนธรรม   แสดงให้เห็นคุณค่าน้อยมากสำหรับเสรีภาพส่วนบุคคล
ความน่าดึงดูดใจด้านวัฒนธรรม
วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมงซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ  การแสดง และประเพณีต่าง ๆ การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่น แอนิเมชันที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า อะนิเมะ วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก  และเสน่ห์ที่น่ารักเป็นพิเศษของญี่ปุ่น คือขนบประเพณี ที่มีความสุภาพอ่อนน้อม เช่น การค้อมศรีษะต่ำ และต้อนรับ

                                                        

ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี            ธนาคารกลางแห่งชาติตีพิมพ์สินทรัพย์ความรับผิดในการจัดการประชุมยุโรปเอเชียตะวันออกกลางและแอฟริกา  กิจกรรมของเทคโนโลยีมีการวิจัยอย่างจิงเพื่อความมั่นคงและลดความเสี่ยงของเทคโนโลยี
ความน่าดึงดูดใจด้านเทคโนโลยี
           ญี่ปุ่นเป็นประเทศแนวหน้าในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนหลัก ญี่ปุ่นมีจำนวนการขอสิทธิบัตรเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกผลงานทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องจักร วิศวกรรมด้านแผ่นดินไหว หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม สารเคมี สารกึ่งตัวนำ และเหล็ก เป็นต้น ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลกเป็นประเทศต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 6 บริษัทจากผู้ผลิต 15 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด และผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำ 7 บริษัทจาก 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด



ที่มา       www.thaingo.org/writer/view.php?id=289
 http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=en%7Cth&u=http://www.incisive-events.com/market/12/risk/subject/66/risk-technology

ขนมอินเดีย

ความรู้สึกที่ไปทานขนมอินเดีย
         ดิฉันรู้สึกว่าไม่ได้เป็นอย่างที่ทุกคนพูดกันว่าไม่อร่อยกินแล้วอยากจะอาเจียน  ดิฉันคิดว่ามันไม่จริงเลย  เพราะจากที่ดิฉันได้ไปรัประทานมานั้นดิฉันรู้สึกว่าอร่อย  บางอย่างก็มีรสชาติเหมือนกับขนมของไทยเหมือนกัน  แต่ที่แปลกไปก็คือ  มีรสชาติที่หวามมากๆ  และมีรสชาติของนมผสมอยู่ด้วย  ขนมอินเดียมีสันสันสวยงาม 

ขนมที่ดันเลือกมารับประทาน  คือ

ขนมชิ้นนี้มีรสชาติมันๆๆๆมีกลิ่นนมผสมอยู่ด้วย  และไม่หวานมาก



ขนมชิ้นนี้มีรสชาติที่หวานมากๆๆๆๆ   เหมือนกับว่าใช้น้ำตาลในการทำแค่อย่างเดียว

            





ขนมชิ้นนี้มีรสชาติหวามมีใส่  รสชาติโดยรวมเหมือนกับขนมไข่หงส์ของไทย
ที่มา  ร้านปัญจาบสวีท แถวพาหุรัด ในตรอกอินเดีย  

แก้ไข จุดเด่น จุดด้อย โอกาส อุปสรรค

จุดเด่น
1. ตลาดของอาหารทะเลของประเทศไทยได้เจาะตลาดประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น
2. ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศและมีการเลือกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น
3. เกิดรายได้เข้าประเทศจากอาหารทะเล ซึ่งทำให้มีตลาดการค้าที่กว้างและขยายตัวดีขึ้น
4.คุณภาพของกุ้งจะเสถียร  ไม่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ

จุดด้อย
1. ราคาสินค้าอาหารทะเลมีราคาที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากญี่ปุ่นก็ได้รับอาหารทะเลมาจากประเทศอื่นค่อนข้างมากเช่นเดียวกัน
2.คุณภาพของสินค้า สารเคมี ผลเสียต่อร่างกาย
3. เกิดการแย่งชิงตลาด

โอกาส
1.สินค้าส่งออกของไทยได้อานิสงส์จากการปรับลดภาษีสินค้าปกติ (Normal Track) ของญี่ปุ่น ภายใต้ FTA
2.ประเทศญี่ปุ่นนิยมอาหารทะเลเพิ่มขึ้น ทำให้อาหารทะเลของไทยสามารถเข้าสู่ตลาดในประเทศญี่ปุ่นได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน
3.ญี่ปุ่นผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภคต้องพึ่งพาการนำเข้า

อุปสรรค
1.การเจาะตลาดค่อนข้างยากเพราะมีคู่แข่งที่ญี่ปุ่นรับมาอาหารทะเลอยู่จำนวนมาก
2.ราคาที่ต้องการในการค้า อาจจะไม่ได้ผลกำไรที่สมควร เนื่องจากมีตลาดที่ค่อนข้างกว้าง
3.ค่าเงินบาทแข่งตัว
4.คู่แข่งขันอย่างจีน




วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก

การส่งออกกุ้งของไทย

                ประเทศญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกกุ้งเป็นอันดับที่  2  ของไทย  ไทยส่งออกกุ้งทุกประเภททั้งกุ้งแช่แข็ง กุ้งต้ม และกุ้งแปรรูปไปยังประเทศต่างๆ ตลาดที่สำคัญของประเทศไทย คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา  ประเทศญี่ปุ่น  และยุโรป    สถานการณ์การส่งออกกุ้ง  ตลาดกุ้งของไทยเติบโตทั้งปริมาณและมูลค่า ซึ่งเป็นเซ็กเตอร์เดียวที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าส่งออกอื่น ๆ มีปัญหา   ไทยส่งออกกุ้งมูลค่าประมาณ 86,000 ล้านบาท    คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10%    ซึ่งถ้าไม่มีปัญหาใหม่ ๆ   เข้ามาในช่วงนี้จะได้เห็นกุ้งไทยส่งออกถึง 100,000 ล้านบาท   คาดว่าจะส่งได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีงานเฉลิมฉลองจะทำให้ตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นอีก  สาเหตุหนึ่งที่ทำให้กุ้งไทยมีปริมาณการส่งออกที่สูงขึ้นในปีนี้ เป็นผลมาจากประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนามและอินโดนีเซีย ประสบปัญหา โดยเวียดนามได้รับผลกระทบจากพายุกิสนาทำให้ผลผลิตลดลงประมาณ 10% ในขณะที่อินโดนีเซียเจอปัญหาโรคระบาดในกุ้ง ทำให้ผลผลิตลดลง 20%  ประเทศไทยจึงได้รับอานิสงส์ แต่ถ้าคู่แข่งของไทยไม่มีปัญหาดังกล่าว ปีนี้กุ้งไทยจะประสบปัญหาอย่างหนัก  เนื่องจากผลผลิตกุ้งมากกว่าปีที่ผ่านถึง 1 แสนตัน  นอกจากนั้นพฤติกรรมการบริโภคกุ้งที่เปลี่ยนแปลงไป เดิมเราตั้งสมมติฐานว่า กุ้งแพงคนจะหันไปกินทูน่าแทน แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะคนมีเงินไปกินกุ้งที่ภัตตาคารในราคาจานละ 10 เหรียญ  จึงเปลี่ยนไปซื้อกุ้งในซูเปอร์มาร์เก็ต  2 กิโลกรัม 10 เหรียญไปทำกินที่บ้าน ซึ่งตรงนี้ทำให้กุ้งไทยเติบโตมากขึ้น  ตลาดส่งออกกุ้งยังเป็นตลาดอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นเป็นหลัก

จุดแข็ง
1.             ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตกุ้งและส่งออกกุ้งเป็นอันดับที่
2.             ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตและส่งออกกุ้ง
3.             มีตลาดส่งออกที่แน่นอน คือ ตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป
4.             เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีการขยายตลาดที่เพิ่มขึ้นสูงสุด

จุดอ่อน
1.             ประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และจีนเป็นคู่แข็งทางการค้าของไทย
2.             พื้นที่ไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้ง
3.             ผลผลิตกุ้งได้มีจำนวนน้อย  เพราะขาดพื้นที่ในการเลี้ยงกุ้ง
4.             ขาดการผลิตที่มีประสิทธิภาพ

โอกาส
1.             ประเทศไทยสามารถส่งออกกุ้งไปยังประเทศญี่ปุ่นได้เป็นจำนวนมาก
2.             ประเทศไทยมีศักยภาพในการส่งออกสูง
3.             ประเทศไทยตกลงทำการค้าแบบ  FTA  กับหลายประเทศ ทำให้เกิดดารค้ากับอีกหลายๆประเทศ
4.             ประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถที่จะทำการเกษตรได้ในจำนวนที่ต้องการ

อุปสรรค
1.             กุ้งต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพ
2.             การขนส่งทางเรือ สินค้าอาจเกิดการเสียหายได้
3.             ผู้ผลิตต้องชดเชยที่เกิดขึ้นจากความลกพร่องของสินค้าให้กับผู้บริโภค  แม้ว่าความบกพร่องนั้นจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ผลิต
4.             ประเทศจีนและประเทศเวียดนามมีพื้นที่อยู่ใกล้กับประเทศญี่ปุ่มมากกว่าประเทศไทย ประเทศจีนและประเทศเวียดนามจึงมีราคาส่งออกกุ้งถูกกว่าประเทศไทย

ที่มา 
·        Menucom   กรมส่งเสริมการส่งออก
·        สำนักบริหารการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไป
·        www.phtnet.org
·        http://www.thailandshrimp.com/industrial_export.html





วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศญี่ปุ่น

ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศของประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศหมู่เกาะมีน้ำทะเลล้อมรอบ มีอาณาบริเวณทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือ ติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอฮอส์ค เป็นเส้นแบ่งแดน    ประเทศญี่ปุ่นมีหมู่เกาะจำนวนมากกว่า 3,000 เกาะ วางตัวอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันออกของทวีปเอเชีย เกาะที่สำคัญของญี่ปุ่น ถ้าจะเรียงจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ ได้แก่ เกาะฮอกไกโด เกาะฮอนชู เกาะชิโกกุ และเกาะคิวชู นอกจากนี้ยังมีหมู่เกาะริวกิวซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะคิวชู ซึ่งเกาะทั้งหมดนี้เรียกรวมกันว่าหมู่เกาะญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นถูกรายล้อมไปด้วยทะเลทุกด้าน ตั้งแต่ทะเลโอค็อตสก์ทางด้านทิศเหนือ ทะเลญี่ปุ่นทางด้านทิศตะวันตก ทะเลจีนตะวันออกทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลฟิลิปปินส์ทางด้านทิศใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านทิศตะวันออก และมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านทิศตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขา โดยร้อยละ 71 ของพื้นที่ทั้งหมดของญี่ปุ่นเป็นภูเขา ในขณะที่มีพื้นที่ราบเพียงร้อยละ 25 ซึ่งใช้เป็นพื้นที่ทางการเกษตรได้เพียงร้อยละ11 เท่านั้น ญี่ปุ่นมีภูเขาไฟมากประมาณ 1 ใน 10 ของทั้งโลก โดยมีภูเขาฟูจิเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ (3,776 เมตร) และเป็นภูเขาไฟที่สงบอยู่แต่ยังไม่ดับ และ จากการที่ญี่ปุ่นอยู่ในเขตที่มีภูเขาไฟมาก ทำให้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเสมอพื้นที่ประมาณ 377,835 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยผืนดิน 374,744 ตารางกิโลเมตร และผืนน้ำ 3,091 ตารางกิโลเมตรพื้นที่ชายฝั่งทะเล 29,751 กิโลเมตร  ประชากรญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งอย่างหนาแน่น
      ประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในวงแหวนแห่งไฟ บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น ทำให้เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงต่ำบ่อยครั้ง และยังมีแผ่นดินไหวความรุนแรงสูงที่ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงอีกหลายครั้ง โดยในศตวรรษที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่น ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ฮันชิน-อะวะจิ ใน พ.ศ. 2537 และแผ่นดินไหวที่ชูเอะสึจังหวัดนีงาตะ ใน พ.ศ. 2547 ซึ่ง ทำให้คนญี่ปุ่นบาดและเจ็บเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การที่ญี่ปุ่นตั้งอยู่ในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ ยังทำให้ญี่ปุ่นมีบ่อน้ำพุร้อนจำนวนมากทั่วประเทศ ส่วนใหญ่บ่อน้ำพุร้อนเหล่านี้จะถูกพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ให้กับนักท่องเที่ยวที่จะมาผ่อนคลาย และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง คือ ภูเขาฟูจิ ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาไฟที่ดับลงไปแล้ว แต่ยังคงความงดงาม และเป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น มาจนถึง บัดนี้
        หมู่เกาะของประเทศญี่ปุ่นวางตัวยาวในแนวทางทิศเหนือใต้ จึงทำให้มีลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ประเทศญี่ปุ่นสามารถแบ่งเขตภูมิอากาศออกเป็น 6 เขต คือ
    ฮอกไกโด: พื้นที่ทางตอนเหนือสุดของประเทศมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปี แม้จะมีหยาดน้ำฟ้าไม่มาก แต่ในฤดูหนาวก็มีหิมะปกคลุมทั่วทั้งเกาะ
    ทะเลญี่ปุ่น: ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลทิศตะวันตกของเกาะฮอนชู ลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดผ่านในช่วงฤดูหนาวทำให้มีหิมะตกมากและหนาแน่น ในช่วงฤดูร้อนอากาศมักจะเย็นกว่าฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แม้ว่าบางครั้งจะเกิดปรากฏการณ์เฟห์นที่ทำให้อากาศร้อนมากผิดปกติก็ตาม
   ที่ราบสูงตอนกลาง: จะมีอุณหภูมิระหว่างช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวจะเป็นในลักษณะทั้งกลางวันและกลางคืนซึ่งจะมีความแตกต่างมาก
   ทะเลเซะโตะ: ซึ่งจะมีภูเขาจูโงะกุและชิโกะกุจะช่วยป้องกันบริเวณทะเลเซะโตะจากลมมรสมฤดูต่าง ๆ ทำให้บริเวณนี้มีอากาศอบอุ่นและมีฝนตกน้อยตลอดทั้งปี
      ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก: ตั้งอยู่ทางชายฝั่งมหาสมุทรทางทิศตะวันออกของประเทศ ในฤดูหนาวมีอากาศที่หนาวเย็นแต่ไม่ค่อยมีหิมะตก ในฤดูร้อนจะมีอากาศที่ร้อนและชื้นเพราะลมจากตะวันออกเฉียงใต้
     หมู่เกาะตะวันตกเฉียงใต้: หมู่เกาะริวกิวซึ่งจะมีอุณหภูมิกึ่งเขตร้อน คืออากาศอบอุ่นในช่วงฤดูหนาวและมีอากาศร้อนในช่วงฤดูร้อน มีฝนตกหนักมากประกอบกับมีลมพายุไต้ฝุ่นผ่านมาในช่วงเปลี่ยนฤดู ฤดูฝนหลักจะเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่โอะกินะวะ แล้วจึงค่อย ๆไต่ขึ้นไปจนถึงฮอกไกโดในปลายเดือนกรกฎาคม บนเกาะฮอนชู ในช่วงฤดูฝนจะเริ่มในกลางเดือนมิถุนายน มีระยะเวลาประมาณเดือนครึ่ง และในช่วงปลายฤดูร้อนจนถึงต้นฤดูใบไม้ร่วงมักมีลมพายุไต้ฝุ่นพัดผ่าน โดยเฉลี่ยแล้วจะมีพายุไต้ฝุ่นพัดเข้าใกล้ญี่ปุ่นปีละ 11 ลูก
 ลักษณะเด่นของภูมิประเทศ ญี่ปุ่นคือเป็นประเทศที่ยังมีภูเขาไฟอยู่มาก ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น คือภูเขาไฟฟูจิและถือได้ว่าเป็นภูเขาที่สวยที่สุดในโลกท่านสามารมองเห็น ภูเขาไฟฟูจิได้จากโตเกียวในวันที่ อากาศดีๆ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศมีแต่ภูเขาทำให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุดในโลก

ที่มา  www.rta.mi.th
       www.WIKIPEDIA THAI
      

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร????????

การค้าระหว่างประเทศ คือ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง
การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
แตกต่างกัน คือ การค้าระหว่างประเทศจะมีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันคือการนำเอาสินค้าที่ตนเองผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนสินค้ากับอีกประเทศหนึ่งทำให้ประชากรของแต่ละประเทศได้รับสินค้าและบริการได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชากรมีความเป็นอยู่ดียิ่งขึ้นส่วนการตลาดระหว่างประเทศเป็นการทำธุรกิจข้ามชาติเพื่อที่หาตลาดใหม่ ทำให้ประเทศสามารถจำหน่ายผลผลิตส่วนเกินจากการบริโภคภายในประเทศสู่ผู้บริโภคในประเทศอื่น ทำให้เกิดรายได้เข้าประเทศและส่งผลต่อมาตรฐานการครองชีพที่ดีของประชาชน

ที่มา...www.webcenter.name/Business