การส่งออกกุ้งของไทย
ประเทศญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกกุ้งเป็นอันดับที่ 2 ของไทย ไทยส่งออกกุ้งทุกประเภททั้งกุ้งแช่แข็ง กุ้งต้ม และกุ้งแปรรูปไปยังประเทศต่างๆ ตลาดที่สำคัญของประเทศไทย คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น และยุโรป สถานการณ์การส่งออกกุ้ง ตลาดกุ้งของไทยเติบโตทั้งปริมาณและมูลค่า ซึ่งเป็นเซ็กเตอร์เดียวที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าส่งออกอื่น ๆ มีปัญหา ไทยส่งออกกุ้งมูลค่าประมาณ 86,000 ล้านบาท คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ซึ่งถ้าไม่มีปัญหาใหม่ ๆ เข้ามาในช่วงนี้จะได้เห็นกุ้งไทยส่งออกถึง 100,000 ล้านบาท คาดว่าจะส่งได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีงานเฉลิมฉลองจะทำให้ตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นอีก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้กุ้งไทยมีปริมาณการส่งออกที่สูงขึ้นในปีนี้ เป็นผลมาจากประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนามและอินโดนีเซีย ประสบปัญหา โดยเวียดนามได้รับผลกระทบจากพายุกิสนาทำให้ผลผลิตลดลงประมาณ 10% ในขณะที่อินโดนีเซียเจอปัญหาโรคระบาดในกุ้ง ทำให้ผลผลิตลดลง 20% ประเทศไทยจึงได้รับอานิสงส์ แต่ถ้าคู่แข่งของไทยไม่มีปัญหาดังกล่าว ปีนี้กุ้งไทยจะประสบปัญหาอย่างหนัก เนื่องจากผลผลิตกุ้งมากกว่าปีที่ผ่านถึง 1 แสนตัน นอกจากนั้นพฤติกรรมการบริโภคกุ้งที่เปลี่ยนแปลงไป เดิมเราตั้งสมมติฐานว่า กุ้งแพงคนจะหันไปกินทูน่าแทน แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะคนมีเงินไปกินกุ้งที่ภัตตาคารในราคาจานละ 10 เหรียญ จึงเปลี่ยนไปซื้อกุ้งในซูเปอร์มาร์เก็ต 2 กิโลกรัม 10 เหรียญไปทำกินที่บ้าน ซึ่งตรงนี้ทำให้กุ้งไทยเติบโตมากขึ้น ตลาดส่งออกกุ้งยังเป็นตลาดอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่นเป็นหลัก
จุดแข็ง
1. ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตกุ้งและส่งออกกุ้งเป็นอันดับที่
2. ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตและส่งออกกุ้ง
3. มีตลาดส่งออกที่แน่นอน คือ ตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป
4. เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีการขยายตลาดที่เพิ่มขึ้นสูงสุด
จุดอ่อน
1. ประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และจีนเป็นคู่แข็งทางการค้าของไทย
2. พื้นที่ไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้ง
3. ผลผลิตกุ้งได้มีจำนวนน้อย เพราะขาดพื้นที่ในการเลี้ยงกุ้ง
4. ขาดการผลิตที่มีประสิทธิภาพ
โอกาส
1. ประเทศไทยสามารถส่งออกกุ้งไปยังประเทศญี่ปุ่นได้เป็นจำนวนมาก
2. ประเทศไทยมีศักยภาพในการส่งออกสูง
3. ประเทศไทยตกลงทำการค้าแบบ FTA กับหลายประเทศ ทำให้เกิดดารค้ากับอีกหลายๆประเทศ
4. ประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถที่จะทำการเกษตรได้ในจำนวนที่ต้องการ
อุปสรรค
1. กุ้งต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพ
2. การขนส่งทางเรือ สินค้าอาจเกิดการเสียหายได้
3. ผู้ผลิตต้องชดเชยที่เกิดขึ้นจากความลกพร่องของสินค้าให้กับผู้บริโภค แม้ว่าความบกพร่องนั้นจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ผลิต
4. ประเทศจีนและประเทศเวียดนามมีพื้นที่อยู่ใกล้กับประเทศญี่ปุ่มมากกว่าประเทศไทย ประเทศจีนและประเทศเวียดนามจึงมีราคาส่งออกกุ้งถูกกว่าประเทศไทย
ที่มา
· Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก
· สำนักบริหารการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไป
· http://www.thailandshrimp.com/industrial_export.html
รูปแบบน่าสนใจองค์ประกอบครบถ้วนดี แล่มเลย
ตอบลบเนื้อหาสมบูรณ์ จัดรูปแบบได้น่าสนใจคะ ผลิตภัณฑ์ก็น่าสนใจเช่นเดียวกัน
ตอบลบเนื้อหาน่าสนใจ..รุปแบบสวยงามดีจ้า
ตอบลบเนื่อหาครบถ้วน สมบูรณ์
ตอบลบเนื้อหาดีค่ะ จัดรูปแบบสวยงาม
ตอบลบYour SWOT is wrong.
ตอบลบCorrect it.
สินค้าน่าสนใจ เนื้อหาดี คร้า
ตอบลบอ่านแล้วน่าสนใจจ๊ะ อยากกินกุ้ง 55
ตอบลบ